ผลตอบรับเกษตรกรดวงตะวันเพชร #สวนแก้วมังกร



ผลตอบรับเกษตรกรดวงตะวันเพชร

หลังจากที่ได้รับคำแนะนำจาก ทีมงานส่งเสริมฯ ของบริษัทดวงตะวันเพชร “ คุณสมเดช มาคำ หรือลุงเดช เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ผู้ปลูกแก้วมังกร พันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง “
ก็ทดลองใช้ปุ๋ยดวงตะวันเพชรทั้งปุ๋ยเคมีและสารปรับสภาพดิน ปรากฏว่าได้ผลผลิตที่ดีกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็น ลำต้นเขียวเข้มอวบใหญ่ไม่มีปัญหาเรื่องเชื้อราเหมือนแต่ก่อน , ผลมีน้ำหนักมากขึ้น , ผิวสวยสีเข้มไม่มีแมลงเจาะ
ปกติใช้ปุ๋ยเคมีทั่วไปสูตรเสมอ (15-15-15) ในช่วงบำรุงต้น และสูตร 13-13-21 ในระยะก่อนติดดอก จะเก็บเกี่ยวได้ 5-6 รอบต่อปี
หลังจากที่ทีมงานส่งเสริมฯ แนะนำให้ใช้สารปรับสภาพดินสูตรบำรุงต้น/ใบ-นาข้าว ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ในระยะบำรุงต้น-ดอก และระยะผลให้ใช้สารปรับสภาพดินสูตรบำรุงผล-ปาล์มน้ำมันร่วมกับปุ๋ยเคมี 13-7-35
(เนื่องจากสารปรับสภาพดินตราดวงตะวันเพชรทั้งสองสูตรที่ถูกพัฒนาขึ้นให้เหมาะสมกับระยะการเจริญเติบโตของพืช) สารปรับสภาพดินจะช่วยในเรื่องของการดูดซับธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม ทำให้พืชนำธาตุเหล่านั้นไปใช้ได้อย่างดี ช่วยเปลี่ยนธาตุอาหารที่ตกค้างในดินออกมาให้พืชใช้ได้ หลังจากทำแปลงสาธิตในระยะเวลา 1 รอบการเก็บเกี่ยวผลผลิต 
คุณลุงเดชได้กล่าวทิ้งท้ายว่า พึงพอใจกับผลผลิตที่ได้จากปุ๋ยดวงตะวันเพชรเป็นอย่างมาก
ช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ย และมีกำไรที่มากขึ้น จากเคยขายได้ 4 ลูกต่อกิโลกรัม หลังใช้ปุ๋ยดวงตะวันเพชรเปลี่ยนเป็น 2-3 ลูกต่อกิโลกรัมอย่างไม่น่าเชื่อ บอกเลยทุกวันนี้ลุงลุงกำลังแฮปปี้กับปุ๋ยดวงตะวันเพชรสุดๆ

ธาตุอาหารที่สำคัญสำหรับพืช 16 ชนิด



สารอาหารสำหรับพืช หมายถึง สารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเติบโตของพืช ซึ่งสามารถถูกจัดได้จากเกณฑ์คือ 
(1) ถ้าเกิดพืชขาดสารอาหารนี้แล้ว ทำให้พืชไม่สามารถวงจรชีวิตได้ตามปกติ หรือ (2) สารนั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของพืชหรือส่วนประกอบของสารตัวกลางในกระบวนการสร้างและสลาย (metabolite)[1]
สารอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช สามารถแบ่งตามปริมาณที่ปรากฏในเนื้อเยื่อพืช ได้เป็น
มหาสารอาหารหลัก (primary macronutrients) 
ได้แก่ ไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P), และ โปแตสเซียม (K)

มหาสารอาหารรอง (secondary macronutrients) 
ได้แก่ แคลเซียม (Ca), กำมะถัน (S), แมกนีเซียม (Mg), และ ซิลิคอน (Si)
จุลสารอาหาร (micronutrients) ได้แก่ โบรอน (B), คลอรีน (Cl), แมงกานีส (Mn), เหล็ก (Fe), สังกะสี (Zn), ทองแดง (Cu), โมลิบดีนัม (Mo), นิเกิล (Ni), เซเลเนียม (Se), และ โซเดียม (Na)

มหาสารอาหาร (macronutrients) คือสารอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมาก หรือว่าเป็นสารที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อของพืชในปริมาณมาก (0.2% ถึง 4% โดยน้ำหนักแห้ง) จุลสารอาหาร คือสารที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อของพืชในปริมาณไม่มาก และวัดเป็นหน่วย ppm โดยมีปริมาณอยู่ในช่วงตั้งแต่ 5 ถึง 200 ppm หรือ น้อยกว่า 0.02% โดยน้ำหนักแห้ง [2]
พืชสามารถรับสารอาหารทางดินได้โดยการแลกเปลี่ยนประจุ โดยที่รากฝอยจะปล่อยประจุไฮโดรเจน (H+) ลงไปในดิน และประจุไฮโดรเจนนี้จะไปแทนที่ไอออนประจุบวกที่อยู่ในดิน (ซึ่งเป็นประจุลบ) จึงทำให้สารอาหารที่อยู่ในรูปประจุบวกสามารถถูกรากดูดซึมเข้าไปได้
เรื่องของสารอาหารพืชเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยาก ส่วนหนึ่งเนื่องมากจาก ความหลากหลายของชนิดและพันธุ์พืช อีกส่วนหนึ่งเนื่องจากปริมาณสารอาหารที่พืชต้องการเป็นเรื่องละเอียดอ่อน กล่าวคือ พืชต้องการสารอาหารในปริมาณที่เพียงพอและไม่มากเกินไป ถ้าเมื่อพืชได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ จะเกิดอาการขาดสารอาหาร แต่ถ้าได้รับมากเกินไปสารอาหารนั้นก็จะเป็นพิษต่อพืชได้ นอกจากนั้นการขาดสารอาหารบางตัว อาจแสดงผลเหมือนกับการเป็นพิษของการได้รับสารอาหารอีกตัวมากเกินไป การที่พืชได้รับสารอาหารบางตัวมากไปก็ส่งผลทำให้พืชขาดธาตุอาหารตัวอื่นได้ และการได้รับธาตุอาหารบางตัวน้อยไปก็อาจส่งผลต่อการดูดซึมของสารอาหารตัวอื่นได้เช่นกรณีของการที่พืชขาด SO2-3 ทำให้การดูดซึม NO-3 ทำได้ไม่ดี หรือ การที่ NH+4 มีอิทธิพลกับการดูดซึมของ K+[3]
สารอาหารแต่ละชนิดของพืช พืชต้องการในปริมาณที่พอเหมาะหากน้อยไปจะแสดงอาการขาดสารอาหาร หรือ หากได้รับมากเกินไปก็จะเป็นพิษกับพืชได้
Cr : วิกิพีเดีย
----------------------------------------
สอบถามเทคนิคทางวิชาการเพื่อเติม
อินบ็อกเลย : https://www.facebook.com/messages/duangtawanpetch/
โทร. 091-5769281,02-7498597
Line ID : @dtwp
สอบถามทันทีกด >>> http://line.me/ti/p/%40dtwp
#dtwpgroup.blogspot.com
ดูข้อมูลสินค้าเพิ่มเติม : http://www.raktawan.com/
#ดวงตะวันเพชร #ปุ๋ยดวงตะวันเพชร
#ปุ๋ยเคมี #สารปรับสภาพดิน #ปุ๋ยอินทรีย์
#ชีวภาพ #ออร์แกนิก #ปุ๋ยปาล์ม #ปุ๋ยยางพารา
#ปุ๋ยบำรุงผล #ปุ๋ยบำรุงต้นใบ #ปุ๋ยสูตรรวม
#ปุ๋ยสูตรเสมอ #ปุ๋ยระเบิดราก
#ธาตุอาหารสำคัญสำหรับพืช #ธาตุอาหารสำหรับพืช

ป้องกันโรคพืชให้ปลอดภัย ด้วยไตรโคเดอร์ม่า



ป้องกันโรคพืชให้ปลอดภัย ด้วยไตรโคเดอร์ม่า


     ไตรโคเดอร์ม่า Trichoderma sp.เชื้อราปฏิปักษ์ไตรโคเดอร์ม่า (Trichoderma sp.) เป็นเชื้อราชั้นสูงทีมีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราได้หลายชนิด เนื่องจากมีกลไกการเป็นปฏิปักษ์กับเชื้อราสาเหตุโรคพืช มีความสามารถในการแข่งขันกับเชื้อสาเหตุโรค เป็นปรสิตรกับเชื้อสาเหตุโรคสามารถสร้างเส้นใยพันรัดเส้นใยของเชื้อราโรค ทำลายโครงสร้างเชื้อสาเหตุโรคด้วยสารปฏิชีวนะ ยับยั้งและป้องกันโรคทั้งโรคทางดินและโรคทางใบ เช่น โรคใบจุด ใบไหม้ รากเน่าโคนเน่า โรคใบติด โรคแอนแทรคโนส และโรคสำคัญอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากเป็นศัตรูกับเชื้อสาเหตุโรคแล้วยังส่งเสริมการเจริญเติบโตให้พืช กระตุ้นการงอกของเมล็ด และกระตุ้นความต้านทานต่อโรคและแมลงให้พืชได้อีกด้วยประโยชน์ของเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคพืชลดกิจกรรมของเชื้อสาเหตุโรคพืชเพิ่มความต้านทานโรคให้พืชเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกให้เมล็ดพันธุ์ส่งเสริมการเจริญเติบโตให้พืชเร่งกระบวนการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินให้เร็วขึ้น  #ไตรโครเตอร์ม่า #ไตรโครเดอร์ม่าคืออะไร