ธาตุอาหารที่สำคัญสำหรับพืช 16 ชนิด



สารอาหารสำหรับพืช หมายถึง สารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเติบโตของพืช ซึ่งสามารถถูกจัดได้จากเกณฑ์คือ 
(1) ถ้าเกิดพืชขาดสารอาหารนี้แล้ว ทำให้พืชไม่สามารถวงจรชีวิตได้ตามปกติ หรือ (2) สารนั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของพืชหรือส่วนประกอบของสารตัวกลางในกระบวนการสร้างและสลาย (metabolite)[1]
สารอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช สามารถแบ่งตามปริมาณที่ปรากฏในเนื้อเยื่อพืช ได้เป็น
มหาสารอาหารหลัก (primary macronutrients) 
ได้แก่ ไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P), และ โปแตสเซียม (K)

มหาสารอาหารรอง (secondary macronutrients) 
ได้แก่ แคลเซียม (Ca), กำมะถัน (S), แมกนีเซียม (Mg), และ ซิลิคอน (Si)
จุลสารอาหาร (micronutrients) ได้แก่ โบรอน (B), คลอรีน (Cl), แมงกานีส (Mn), เหล็ก (Fe), สังกะสี (Zn), ทองแดง (Cu), โมลิบดีนัม (Mo), นิเกิล (Ni), เซเลเนียม (Se), และ โซเดียม (Na)

มหาสารอาหาร (macronutrients) คือสารอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมาก หรือว่าเป็นสารที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อของพืชในปริมาณมาก (0.2% ถึง 4% โดยน้ำหนักแห้ง) จุลสารอาหาร คือสารที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อของพืชในปริมาณไม่มาก และวัดเป็นหน่วย ppm โดยมีปริมาณอยู่ในช่วงตั้งแต่ 5 ถึง 200 ppm หรือ น้อยกว่า 0.02% โดยน้ำหนักแห้ง [2]
พืชสามารถรับสารอาหารทางดินได้โดยการแลกเปลี่ยนประจุ โดยที่รากฝอยจะปล่อยประจุไฮโดรเจน (H+) ลงไปในดิน และประจุไฮโดรเจนนี้จะไปแทนที่ไอออนประจุบวกที่อยู่ในดิน (ซึ่งเป็นประจุลบ) จึงทำให้สารอาหารที่อยู่ในรูปประจุบวกสามารถถูกรากดูดซึมเข้าไปได้
เรื่องของสารอาหารพืชเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยาก ส่วนหนึ่งเนื่องมากจาก ความหลากหลายของชนิดและพันธุ์พืช อีกส่วนหนึ่งเนื่องจากปริมาณสารอาหารที่พืชต้องการเป็นเรื่องละเอียดอ่อน กล่าวคือ พืชต้องการสารอาหารในปริมาณที่เพียงพอและไม่มากเกินไป ถ้าเมื่อพืชได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ จะเกิดอาการขาดสารอาหาร แต่ถ้าได้รับมากเกินไปสารอาหารนั้นก็จะเป็นพิษต่อพืชได้ นอกจากนั้นการขาดสารอาหารบางตัว อาจแสดงผลเหมือนกับการเป็นพิษของการได้รับสารอาหารอีกตัวมากเกินไป การที่พืชได้รับสารอาหารบางตัวมากไปก็ส่งผลทำให้พืชขาดธาตุอาหารตัวอื่นได้ และการได้รับธาตุอาหารบางตัวน้อยไปก็อาจส่งผลต่อการดูดซึมของสารอาหารตัวอื่นได้เช่นกรณีของการที่พืชขาด SO2-3 ทำให้การดูดซึม NO-3 ทำได้ไม่ดี หรือ การที่ NH+4 มีอิทธิพลกับการดูดซึมของ K+[3]
สารอาหารแต่ละชนิดของพืช พืชต้องการในปริมาณที่พอเหมาะหากน้อยไปจะแสดงอาการขาดสารอาหาร หรือ หากได้รับมากเกินไปก็จะเป็นพิษกับพืชได้
Cr : วิกิพีเดีย
----------------------------------------
สอบถามเทคนิคทางวิชาการเพื่อเติม
อินบ็อกเลย : https://www.facebook.com/messages/duangtawanpetch/
โทร. 091-5769281,02-7498597
Line ID : @dtwp
สอบถามทันทีกด >>> http://line.me/ti/p/%40dtwp
#dtwpgroup.blogspot.com
ดูข้อมูลสินค้าเพิ่มเติม : http://www.raktawan.com/
#ดวงตะวันเพชร #ปุ๋ยดวงตะวันเพชร
#ปุ๋ยเคมี #สารปรับสภาพดิน #ปุ๋ยอินทรีย์
#ชีวภาพ #ออร์แกนิก #ปุ๋ยปาล์ม #ปุ๋ยยางพารา
#ปุ๋ยบำรุงผล #ปุ๋ยบำรุงต้นใบ #ปุ๋ยสูตรรวม
#ปุ๋ยสูตรเสมอ #ปุ๋ยระเบิดราก
#ธาตุอาหารสำคัญสำหรับพืช #ธาตุอาหารสำหรับพืช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น