การตรวจดินสำคัญอย่างไร


การตรวจดินสำคัญอย่างไร

ดิน!!!!!นอกจากจะเป็นที่ยึดเกาะและเป็นแหล่งอาหารของรากพืชแล้ว ยังถือว่าเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ดินและสิ่งมีชีวิตต่างๆอีกมากมาย

เมื่อเราทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินและปัญหาของดินในแปลงปลูก ก็จะมีผลต่อการจัดการเรื่องปุ๋ย และความเป็นกรด-ด่างของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช

ดูอย่างไรว่าดินอุดมสมบูรณ์
สี : ถ้าดินเป็นสีดำคล้ำส่วนใหญ่จะเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง โดยเฉพาะถ้าเป็นดินเหนียวที่เป็นก้อนๆสามารถดูได้จากจุดสีน้ำตาล ยิ่งแสดงถึงอินทรีย์วัตถุในดิน ถ้าดินที่มีสีน้ำตาลขาวหรือสีจาง มักสรุปได้คร่าวๆว่าเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
เนื้อดิน : ดินร่วนมักดีกว่าดินทรายเสมอ เช่นความสามารถในการอุ้มน้ำและธาตุอาหาร ความหน่าแน่นของดิน จะมีผลต่อการงอกและการเจริญเติบโต
ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) : ควรปรับให้มีความเป็นกลางที่ 6.5-7 นอกจากจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชแล้วยังมีผลต่อการละลายของธาตุอาหารชนิดต่างๆในดินอีกด้วย

แล้วจะส่งตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ที่ไหน
ปกติเมื่อมีการเก็บดินเพื่อตรวจเราต้องนำไปตรวจที่ศูนย์รับตรวจดิน หน่วยงานราชการต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัย กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร เป็นต้น โดยใช้การวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการทางเคมี ซึ่งจะต้องใช้เวลารอผลตรวจไม่ต่ำกว่า 2 สัปดาห์ แต่ ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่พัฒนามาเป็นชุดตรวจดินที่ง่ายและรวดเร็ว (Soil Test Kit) และสามารถตรวจเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง มีให้เลือกทั้งแบบเครื่องมือดิจิตอลและแบบชุดทดสอบด้วยสารเคมี ใช้งานง่าย สะดวกต่อการพกพา อ่านค่ารวดเร็วและมีความแม่นยำสูง คุณภาพนำเข้าจาก USA ในราคาที่เอื้อมถึงแน่นอนค่
หลังจากอ่านมาถึงตรงนี้แล้วอุปกรณ์เหล่านั้นซื้อได้ที่ไหนล่ะ!!!!!!!
ซึ้อได้ที่เพจ #DTWPGROUP หรือ #ปุ๋ยดวงตะวันเพชร นี้แหละค่ะ ทั้งถูกทั้งดีแล้วสั่งกันเข้ามาเยอะๆนะคะ

#ปุ๋ย #ปุ๋ยเคมี #สารปรับสภาพดิน #ปุ๋ยดวงตะวันเพชร #ดวงตะวันเพชร

วิธีสังเกตุพืชที่ขาดธาตุอาหาร




















วิธีสังเกตุพืชที่ขาดธาตุอาหาร

เมื่อพืชแสดงอาการผิดปกติ มีได้หลายสาเหตุ หนึ่งในนั้นคือผลจากการขาดธาตุอาหาร เพราะพืชแต่ละชนิดและแต่ละระยะการเจริญเติบโต พืชต้องการธาตุอาหารที่แตกต่างกัน หากเราจัดการธาตุอาหารได้ไม่เหมาะสมเพียงพอพืชจะแสดงอาการขาดธาตุนั้นๆ หรือหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไปจะเกิดอาการเป็นพิษ โดยธาตุที่พืชมักจะขาดได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซี่ยม แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก โบรอนและสังกะสี วันนี้เรามีวิธีการสังเกตอาการขาดธาตุอาหารต่างๆ ที่พืชแสดงออกมา โดยสามารถสังเกตง่ายๆด้วยสายตามาฝากให้จะได้หาวิธีการจัดการได้อย่างถูกต้องต่อไป

ไนโตรเจนธาตุอาหารหลักสำหรับพืช



ไนโตรเจนธาตุอาหารหลักสำหรับพืช


คุณรู้หรือไม่ว่า!!! ไนโตรเจน เป็นธาตุที่มีความจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งมนุษย์ สัตว์และพืช รวมไปถึงจุลินทรีย์อีกด้วย ไนโตรเจนเป็นธาตุพื้นฐานที่พบอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวันของเรา เป็นส่วนประกอบหลักของเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ช่วยเจือจางออกซิเจนในอากาศให้เหมาะสมต่อการหายใจของสิ่งมีชีวิต

ปุ๋ยไนโตรเจนกับพืช
พืชต้องการในโตรเจนเช่นเดียวกับคนและสัตว์ที่ต้องการโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต เพราะไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบหลักของเซลล์พืช เป็นส่วนประกอบของกรดอะมิโน และฮอร์โมนพืช ช่วยในกระบวนการเมทาบอลิซึมต่างๆของพืช เช่นการสังเคราะห์แสง ทำให้พืชใบเขียว ใบหนา การแตกใบอ่อน ยอดอ่อน ส่งผลต่อการเจริญเติบโต ได้ผลผลิตที่ดี ไนโตรเจนในดินซึ่งอยู่ในรูปแบบที่พืชใช้ได้มักสูญเสียไปกับการชะล้าง ในรูปของเกลือไนเตรท หรือเกิดการระเหยของแอมโมเนีย ดังนั้นจึงต้องใส่ธาตุไนโตรเจนลงไปในดินในรูปของปุ๋ย ถ้าพืชขาดไนตรโตรเจนจะแสดงอาการออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน สังเกตได้จากใบล่างหรือใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ขอบใบแห้งกลายเป็นสีน้ำตาล หลังจากนั้นใบบนจะทะยอยแสดงอาการตามมา พืชออกดอกก่อนกำหนด และและรากหรือส่วนที่สะสมอาหารจะมีขนาดเล็ดลง และร่วงหล่นได้ง่าย

การให้ปุ๋ยไนโตรเจนกับพืช
การให้ปุ๋ยยูเรียกับพืชขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัย เช่น สภาพพื้นที่ปลูก ลักษณะของดิน ชนิดและพันธุ์พืช ความต้องการธาตุอาหารของพืชใยแต่ละระยะการเจริญเติบโต เช่น ในนาข้าวจะหว่านปุ๋ยยูเรียในอัตรา ไร่ละ 5-10 กิโลกรัมก่อนข้าวออกดอก 30 วัน สำหรับข้าวไวต่อช่วงแสง และหว่านหลังปักดำ 35-45 วัน ในอัตรา 10-15 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง นอกจากนี้สามารถ แบ่งอัตราการใช้ปุ๋ยยูเรีย ออกเป็น 2 ครั้งๆ 50 กิโลกรัมต่อไร่ต่อการปลูกพืชผักทุกชนิด เช่น พริก มะเขือเทศ หอมใหญ่ กระเทียม กระหล่ำปลี โดยให้ครั้งแรกเมื่อพืชอายุ 10-15 วัน และครั้งที่ 2 เมื่อพืชอายุ 30-45 วัน 

ทั้งนี้การให้ปุ๋ยยูเรียต้องคำนึงถึงลักษณะของดิน ความเป็นกรด-ด่างของดิน ปริมาณธาตุอาหารในดิน เพราะหากใส่ปุ๋ยยูเรียมากเกินความจำเป็น นอกจากจะไม่เป็นประโยชน์แล้วยังส่งผลเสียอื่นๆตามมา ทำให้มีปุ๋ยตก ค้างในดิน ดินแข็งและดินเค็มได้ ทำให้โครงสร้างพืชเจริญอย่างรวดเร็ว มีใบสีเขียวเข้มและมีจำนวนใบเพิ่มผิดปกติ และต้นเปราะไม่แข็งแรง ทำให้ง่ายต่อการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรคและแมลงศัตรูพืช กล่าวได้ว่านอกจากไม่เป็นประโยชน์แล้วยังเป็นโทษอีก!!!

ทำไมต้องจ่ายแพงกว่า??!!!
ปุ๋ยยูเรียแบบเม็ดในประเทศไทยทั้งหมดเป็นปุ๋ยที่นำเข้าจากต่างประเทศทั้งสิ้น เนื่องจากในประเทศไทยยังไม่มี โรงงานในการผลิต ดังนั้นคุณภาพจึงขึ้นอยู่กับโรงงานที่ผลิต ราคาขึ้นอยู่กับคุณภาพ ปริมาณ ต้นทุนการนำเข้า ในแต่ละครั้ง และค่าอื่นๆ (ค่าโฆษณา ค่าการตลาด ) ดังนั้นเมื่อท่านจะซื้อปุ๋ยในแต่ละครั้งควรพิจารณาจาก คุณสมบัติและราคาเป็นหลัก ปุ๋ยยูเรียแท้เกรดเดียวกันที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน มีคุณภาพและปริมาณไนโตรเจนเท่ากัน โดยไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินเพิ่มเพื่อให้กับค่าโฆษณาและอื่นๆ