ไคโตซานมีประโยชน์อย่างไร??
ไคติน (chitin) เป็นโพลีเมอร์ธรรมชาติ มีลักษณะโครงสร้างคล้ายเซลลูโลส เป็นโมโลกุลสายยาว ไม่มีประจุและไม่ละลายน้ำ พบมากในสิ่งมีชีวิตที่มีเปลือกหรือผนังแข็งหุ้มลำตัว เช่น กุ้ง ปู หอย แมลง รวมถึงผนังเซลล์ของเชื้อรา ยีสต์ และสาหร่าย สารนี้จะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างป้องกันและเสริมความแข็งแรงให้สิ่งมีชีวิตเหล่านั้น
ไคโตซาน (chitosan) จัดเป็นอนุพันธุ์ของไคติน เป็นโมเลกุลขนาดเล็ก ประกอบด้วยหมู่อะมิโนและหมู่ไฮดรอกซิล มีคุณสมบัติที่อ่อนตัวสามารถขึ้นรูปเป็นเจล เม็ด หรือเส้นใยได้
ประโยชน์ของไคตินและไคโตซาน
ทางด้านการเกษตร
เคลือบผลผลิตให้คงความสดเพิ่มระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวได้นานขึ้น ทนต่อการขนส่งเคลือบเมล็ดพันธุ์สร้างภูมิคุ้มกัน และกระตุ้นการงอกของเมล็ด
กระตุ้นให้พืชสร้างระบบภูมิคุ้มกันและเร่งการเจริญเติบโตของพืช
ส่งเสริมและกระตุ้นการแตกตัวของเซลล์ราก พืชจะดูดซึมและสะสมอาหารได้ดี
สร้างภูมิคุ้มกันให้พืชทนต่อสภาพแวดล้อม รวมทั้งทนต่อโรคและแมลงศัตรูพืช
ทางด้านการแพทย์
เป็นส่วนประกอบของแคปซูล และยาเม็ดป้องกันฟันผุ สามารถยับยั้งการจับและการก่อตัวของแบคทีเรียบนผิวฟัน
ยับยั้งการแข็งตัวของเลือด นำมาประยุกต์ใช้ในขั้นตอนการฟอกเลือด
รักษาแผลและป้องกันการติดเชื้อของแผล
ทางด้านอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอาง
ใช้เป็นอาหารเสริมให้พลังงานและช่วยลดปริมาณคอเลสเตอร์รอลชนิด LDL รวมถึงไขมันพวกไตรกลีเซอร์ไรด์ป้องกันการปนเปือนของจุลินทรีย์ในอาหารเป็นสารเติมแต่งในน้ำผลไม้ ควบคุมความเป็นกรดของน้ำผลไม้ได้ดีเป็นส่วนผสมของแป้ง สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผสม ครีมกันแดด ครีมบำรุงผิว ฯ ช่วยป้องกันการเสียความชุ่มชื้นของผิวได้
ทางด้านสิ่งแวดล้อม
เป็นสารกรองหรือสารดูดซับมลพิษในระบบบำบัดน้ำเสีย จำพวกไขมัน
เป็นสารกรองหรือสารดูดซับมลพิษในระบบบำบัดน้ำเสีย จำพวกไขมัน
#ไคโตซานคืออะไร #ไคโตซาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น