GMO ข้อดีและข้อเสีย






ข้อดีและข้อเสียของ GMO

GMOs หรือ Genetically Modified Organisms คือ สิ่งมีชีวิตที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมจากกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) โดยการนำยีนของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง มาใส่เข้าไปในยีนของอีกสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งให้มีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มขึ้น เช่น ตัดยีนของแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส (Bacillus thuringiensis) ที่มีความสามารถในการสร้างโปรตีนที่เป็นพิษต่อหนอน มาใส่ในฝ้ายให้ต้านทานต่อหนอนเจาะสมอฝ้ายที่เรียกกันว่าฝ้ายบีที การตัดต่อพันธุกรรมให้มะละกอต้านทานต่อโรคใบจุดวงแหวน ซึ่งเกิดจากไวรัส Papara Ring Spot Virus (PRSV) 
ที่นับว่าเป็นโรคสำคัญในมะละกอ เป็นต้น

ประโยชน์หรือข้อดีของ GMOs

ทำให้พืชต้านทานต่อศัตรูพืช
ทำให้พืชมีผลผลิตมากขึ้น
ทำให้พืชทนทานต่อสภาพแวดล้อม
ทำให้ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร
ทำให้ผลผลิตเก็บรักษาได้เป็นเวลานาน ทนต่อการขนส่ง


ผลเสียหรือข้อเสียของ GMOs

ปัญหาสารตกค้างหรือสิ่งเจือปนที่ทำให้เกิดอันตรายจากสารอาหารที่ได้จาก GMOs
ปัญหาความเสี่ยงต่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ในการผลิตสารบางอย่างหรือโปรตีนที่ได้จากสิ่งมีชีวิต GMOs
ปัญหาการดื้อยาของสิ่งมีชีวิต GMOs ต่อสารปฏิชีวนะ
ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ทำให้ขาดสมดุลทางระบบนิเวศ
การผูกขาดทางสินค้า GMOs ของบริษัทเอกชนที่จดสิทธิบัตร

เทคนิคการตรวจสอบมะลอกอ GMO !!!!!

ผศ.ดร. วิชัย โฆสิตรัตน์ อาจารย์ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แนะนำวิธีการตรวจสอบต้นมะละกอด้วยเทคนิคง่ายๆด้วยยาปฏิชีวนะ อย่างกาน่ามันซิน (Kanamysin) จำนวน 1 กรัมผสมน้ำ 1 ลิตร ให้ได้ความเข้มข้น 1,000 ppm (หนึ่งพันส่วนในหนึ่งล้านส่วน) เติมสารจับใบ แล้วพ่นน้ำยาที่เตรียมไว้บนใบอ่อนมะละกอ ปล่อยทิ้งไว้ 7 วัน ค่อยกลับมาดูใหม่ ถ้าใบอ่อนแสดงอาการไหม้แสดงว่าต้นนั้นไม่ใช่มะละกอ GMO แต่ถ้าไม่แสดงอาการไหม้แสดงว่าต้นนั้นเป็นมะลอกอ GMO อย่างแน่นอน เพราะต้นที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมมา (GMO) 
จะต้านทานต่อสารกาน่ามัยซิน

อ่านคอลัมเพิ่มเติมได้ที่ >>> http://www.raktawan.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น