เดินตามรอยเท้าพ่อ ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง (ป้าอาสา-ลุงประมวล)

เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดยาวนานกว่า 25 ปีตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลัง ได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถ ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง หลักการสำคัญ 5 ประการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือ 1.ความพอประมาณ คือ ความพอดีๆ ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป ไม่เติบโต เร็วเกินไป ไม่ช้าเกินไปและไม่สุดโต่ง 2.ความมีเหตุผล คือ ทุกอย่างต้องมีที่มาที่ไป อธิบายได้ การส่งเสริมกัน ในทางที่ดี สอดคล้องกับหลักการพุทธธรรม คือหลักปฏิจจสมุปบาทและ อิทัปปัจจยตา ที่กล่าวถึงความเป็นเหตุเป็นผลเพราะมีสิ่งนี้ทำให้เกิดสิ่งนี้ ทุกสิ่งเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย 3.ความมีภูมิคุ้มกันที่ดี จะต้องปกป้องคุ้มครองไม่ให้เกิดความเสี่ยงที่ไม่ควร จะเป็น เช่น เกิดความเสี่ยงเพราะมีความโลภมากเกินไป หรือเสี่ยงเพราะ ปล่อยกู้มากเกินไป หรือกักตุนสินค้าเพื่อเก็งกำไรมากเกินไป จนก่อให้ เกิดความเสี่ยง 4.ความรอบรู้ ต้องมีความรอบคอบ มีการใช้ความรู้ใช้วิชาการด้วยความระมัดระวัง ไม่บุ่มบ่าม มีการจัดการองค์ความรู้ที่ดี ดำเนินการอย่าง รอบคอบถ้วนทั่ว รอบด้านครบทุกมิติ 5.คุณธรรมความดี เป็นพื้นฐานของความมั่นคง หากเปรียบเป็นต้นไม้ใหญ่ ถือเป็นรากแก้วและรากแขนงที่มีขนาดและคุณภาพเพียงพอ โดยมี เศรษฐกิจเป็นรากฝอยคอยหล่อเลี้ยง ที่ประกอบด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มานะอดทนและพากเพียร


ด้วยจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของ ครอบครัวสุทาธรรม นั่นคือ ลุงอาสา - ป้ามวล (นายอาสา และ นางประมวล สุทาธรรมเกษตรกรจังหวัดอุทัยธานีที่ประกอบอาชีพทำนา จากไร่นาไม่ถึง 5 ไร่ ที่ลุงอาสาและป้ามวลได้ร่วมกันทำตั้งแต่ หว่านกล้า ปักดำ จนถึง เก็บเกี่ยวเอง ด้วยความขยันและตั้งใจลุงอาสาและป้ามวลก็คัดพันธุ์ข้าวปลูกเองหลัง จากเกี่ยวข้าวเสร็จเพื่อใช้เป็นพันธุ์ข้าวในการทำนาครั้งต่อไป เพราะลุงอาสากล่าวว่า “ลุงชอบคัดเมล็ดข้าวเอง เพราะลุงเป็นคนปลูกเอง และ ลุงไม่ต้องเสียตังไปซื้อเขา อันไหนที่ลุงทำได้ ลุงจะทำเองทั้งหมด เพราะมันคืออาชีพของลุง” จากการคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวเองของลุงอาสาและป้ามวลทำให้ชาวบ้านใกล้เคียง เห็นและสนใจมาขอซื้อเพราะลุงและป้าคัดพันธุ์ข้าวดีและมีคุณภาพกว่าไปซื้อเขา นั่นคือ จุดเริ่มต้นของการขายพันธุ์ข้าวปลูกของลุงอาสาและป้ามวล เพราะการคัดพันธุ์ ข้าวปลูกของลุงและป้านั้นไม่ว่าจะขายหรือทำเองก็เหมือนกันเพราะลุุงและป้าทำด้วย ใจรักและซื่อสัตย์ต่อคนที่มาซื้อ ทำให้ลุงอาสาและป้ามวล เป็นที่รู้จักในจังหวัดอุทัยธานีและจังหวัดใกล้เคียงในการคัดพันธุ์ข้าวปลูกที่มีคุณภาพจนถึงปัจจุบัน ด้วยอาชีพที่รักและการใช้ชีวิตแบบพอเพียงของลุงอาสาและป้ามวล ทำให้ใช้ ชีวิตอย่างมีความสุข โดยป้ามวลกล่าวว่า “ป้าชอบทำนา ป้ารักอาชีพนี้ ถ้าให้ป้า ไปทำอย่างอื่นที่ได้เงินมากกว่านี้ ป้าก็ไม่ไป เพราะป้ามีความสุขที่เห็นข้าวเขียวงาม ออกรวงเหลืองสวยเต็มท้องทุ่งนา ป้าเห็นแล้วป้ามีความสุข เพราะตอนนี้ป้าใช้ชีวิตอย่างมีความสุขด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 ทำให้ป้า ระลึกถึงท่านอยู่เสมอ เป็นบุญของป้าที่ได้เกิดในรัชกาลที่ 9 และได้อยู่ในประเทศไทย” ด้วยการใช้ชีวิตแบบพอเพียงของลุงอาสา - ป้ามวล ทำให้ชีวิตพบแต่ความสุข ในนาม บริษัท ดวงตะวันเพชร จำกัดขอขอบพระคุณลุงอาสา - ป้ามวล เป็นอย่าสูงที่ได้ให้ข้อคิดในการดำเนินชีวิตด้วยความพอเพียงและมีความสุขในทุกๆ อย่างที่ได้ทำ

อาหารสูตรเด็ด สำหรับต้นยางพารา


วันนี้แอดมินเอาความลับทีเด็ด
สูตรยางพารา ดวงตะวันเพชรมาฝาก มีใครอยากรู้บ้างมั๊ยคะว่ามัน #ดีอย่างไร #ทำไมถึงดี วันนี้แอดมินมีคำตอบมาฝากชาวแฟนเพจกันค่ะ
สารปรับสภาพดิน สูตรยางพารา ดวงตะวันเพชร เป็นปุ๋ยสูตรพิเศษที่ทำขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับต้นยางพาราโดยเฉพาะ ซึ่งสามารถใช้ได้กับยางที่มีอายุ 1 ปีแรกจนไปถึงต้นแก่ๆเลยทีเดียว ซึ่งภายในเนื้อสารปรับฯ แต่ละเม็ดจะมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุ หลายชนิดซึ่งแอดมินจะขอยกตัวอย่างดังนี้นะคะ
1 Nano-zeolite (นาโน ซีโอไลต์)
คือแร่ธาตุที่ช่วยปรับโครงสร้างดิน ช่วยดูดซับปุ๋ยให้พืชใช้ได้อย่างต่อเนื่อง ลดการสูญเสียปุ๋ย
2 A2Z (เอทูแซด)
แร่หินภูเขาไฟนำเข้าจากต่างประเทศ เติมเต็มธาตุอาหารกว่า 60 ชนิด
เสริมการเจริญของพืช
3 Organic Humus (ออร์แกนิค ฮิวมัส)
อินทรีย์วัตถุคุณภาพสูง ช่วยปรับโครงสร้างดิน
เต็มไปด้วยธาตุอาหาร ที่เป็นประโยชน์กับพืช
4 สารอินทรีย์คุณภาพสูง
ที่เต็มไปดัวยธาตุอาหารและอินทรีย์วัตถุ
ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช
และปรับโครงสร้างดิน

นอกจากนี้แอดมินยังทำภาพมาให้เพื่อนๆ ได้ทำความเข้าใจกันอย่างง่ายๆ ว่าใช้ ปุ๋ยสูตรยางพาราของเราแล้วเป็นอย่างไร น้ำยางเยอะแค่ไหน ใบและต้นสมบูรณ์เพราะอะไร ดูกันชัดๆได้ที่ต้นตัวอย่างในภาพนี่เลยค่ะ
ขอบคุณภาพต้นยางสวยๆจากสวนยาง พ่อทิน เกษตรกรสวนยางพารา
ในพื้นที่ จ.พะเยาะ

-------------------------------
สอบถามเพิ่มเติมโทร
โทร. 091-5769281,02-7498597
Line ID : @dtwp
สอบถามทันทีกด >>> http://line.me/ti/p/%40dtwp
ดูข้อมูลสินค้าเพิ่มเติม :http://www.dtwp.co.th

วิธีกำจัด ด้วงหนวดยาว เจาะทุเรียน





กำจัดด้วงหนวดยาวเจาะต้นทุเรียน ง่ายๆด้วยตาข่ายดักปลา

การกำจัดด้วงหนวดยาวตัวการร้ายในการทำลายต้นทุเรียน ด้วยวิธีการวางไข่ ให้ตัวหนอนได้เจริญเติบโต
กัดกินเนื้อเยื่อภายในต้นทุเรียนผลคือระบบท่อน้ำ-ท่ออาหารทุเรียนถูกทำลาย ต้นทุเรียนจึงมีอาการทรุดโทรมและตายในที่สุด เพราะทางเดินอาหารและน้ำถูกตัดขาด อีกทั้งยังยากต่อการกำจัดในช่วงที่หนอนเข้าทำลายอยู่ภายในลำต้น ซึ่งวิธีการที่ดีที่สุดในการตัดวงจรชีวิตของด้วงหนวดยาวก็คือ “ การดักจับตัวเต็มวัย”
ที่ผ่านมาได้เกิดการระบาดของด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียนในหลายๆจังหวัด ทำให้ต้นทุเรียนทรุดโทรม ใบร่วง
กิ่งแห้ง และตายในที่สุด สำหรับหนอนด้วงที่พบว่าเข้าทำลายต้นทุเรียนนั้นมีหลายระยะ ส่วนใหญ่อยู่ในระยะตัวหนอน
โดยตัวด้วงหนวดยาวจะมีลำตัวเป็นปล้องๆ สีขาวขุ่น ส่วนหัวค่อนข้างโตกว่าส่วนท้องและมีเขี้ยวสีดำขนาดใหญ่ ทำให้ตัวหนอนสามารถกัดกินและเจาะเข้าไปในเนื้อไม้ได้ ดังนั้นขอให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนสำรวจที่ต้นทุเรียน
ตั้งแต่บริเวณโคนต้น ขึ้นไปตลอดจนตามคบและกิ่งแขนงต่างๆ ถ้าพบขุยไม้ละเอียดบริเวณส่วนต่างๆ ของต้นแสดงว่าหนอนได้เจาะเข้าไปในต้นทุเรียนแล้ว

วิธีป้องกัน
1. การกำจัดไข่ : การกำจัดไข่ ทำได้โดยการสำรวจหารอยแผลของการวางไข่บริเวณเปลือกรอบๆต้น
ถ้าพบให้เก็บมาทำลาย
2. การกำจัดตัวหนอน : สำรวจหาร่องรอยการทำลายของด้วงหนวดยาว
ถ้าสำรวจพบขุยไม้ละเอียดตามส่วนต่างๆ ของต้นทุเรียนให้ใช้มีดแคะหาตัวหนอนที่เข้าไปทำลาย และถ้าพบให้จับมาทำลาย
3. การกำจัดตัวเต็มวัย : การจำกัดตัวเต็มวัยโดยใช้ภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหา โดยการใช้ตาข่ายดักปลาเก่า
ที่เลิกใช้แล้วมาพันไว้กับต้นทุเรียนรอบๆ ต้น จากส่วนโคนต้นถึงกลางลำต้น ซึ่งเป็นส่วนที่ด้วงหนวดยาวชอบเจาะทำลาย
ซึ่งเมื่อด้วงบินมาจับต้นทุเรียน ขาของด้วงจะสัมผัสและพันติดกับตาข่าย เมื่อด้วงพยายามดิ้นตาข่ายจะยิ่งพันแน่นขึ้น จนด้วงไม่สามารถจะหลุดออกมาได้และแห้งตายในที่สุด
4. ลดแหล่งแพร่พันธุ์ : ตัดและเผาทำลายต้นทุเรียนที่ถูกหนอนทำลายจนไม่สามารถให้ผลผลิตได้
เพื่อลดประชากรของแมลงและแหล่งแพร่กระจาย

Cr : คุณฟอง วรรณสิทธิ์ เกษตรกรสวนทุเรียน บ้านเลขที่ 173 หมู่ที่ 10 ตำบลพราน อำเภอ ขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ / เว็บรักบ้านเกิด

เกษตร 4.0 คืออะไร



เกษตรยุค 4.0 คืออะไร ?

ก่อนที่จะกล่าวถึงยุค 4.0 เรามาทำความรู้จักกับการเกษตรในยุค 1.0 - 3.0
กันก่อนดีกว่าว่ามีวิวัฒนาการอะไรบ้างในยุคที่ผ่านมา
ยุค 1.0 ยุคนี้จะเน้นการเกษตรเป็นหลัก โดยจะมีการผลิตและขายพืชไร่ พืชสวน
ยุค 2.0 เน้นอุตสาหกรรมเบา หรืออุตสาหกรรมที่ทำการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหนักเบา ใช้แรงงานและวัตุดิบน้อยเป็นต้น
ยุคที่ 3.0 เน้นอุตสาหกรรมหนัก หรืออุตสาหกรรมที่ทำการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหนัก ใช้แรงงานและวัตุดิบเป็นจำนวนมาก เป็นต้น ที่สำคัญคือการส่งออก
และก็มาถึงยุคปัจจุบันนั้นก็คือยุค 4.0 ซึ่งใน
ยุค 4.0 จะเน้นเศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม Value-Based Economy (เศรษฐกิจตามมูลค่า)
ซึ่งในยุค 4.0 ประเทศของเราจะเน้น 4 กลุ่มดังนี้
1 กลุ่มอาหาร , เกษตร , เทคโนโลยีชีวภาพ
2 กลุ่มสาธารณสุข , เทคโนโลยีทางการแพทย์
3 กลุ่มเครื่องมือที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาใหม่ โดยใช้อิเล็กทรอนิกส์ควบคุมแทนคน
4 กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีที่สามารถสั่งและบังคับโดยการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต
5 กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรมและบริการ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
www.drborworn.com
www.thairath.co.th
* คลิปจาก youtube.com
http://www.organicfarmthailand.com/

10 ผักสดที่ไม่ควรทานดิบ



วันนี้แอดมินนำสาระเพื่อสุขภาพมาฝากกันค่ะ
เรื่องใกล้ตัวที่บางท่านอาจจะยังไม่รู้
10 ผัดสดที่ไม่ควรทานดิบ....เพราะทำให้เสียสุขภาพ
ผักที่เรานำมาใช้ในการประกอบอาหารนั้นมีหลากหลายชนิด ซึ่งวิธีทานของแต่ละท่านก็ไม่เหมือนกัน ซึ่งวันนี้แอดมินจะมา
พูดถึงผักบางชนิดที่ไม่ควรทานดิบ เพราะอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ มีดังนี้คือ

1. กะหล่ำปลี
ในกะหล่ำปลีดิบมีสารอ็อกซาเลต (Oxalate) เมื่อทานเข้าไปจะไปจับแคลเซียมที่กรวยไต ที่อาจก่อตัวกันจนเสี่ยงต่อโรคนิ่วในไตได้ อีกทั้งยังมีสารกอยโตรเจน (Goitrogen) มีผลให้ร่างกายดูดซึมไอโอดีนได้น้อย จนอาจก่อให้เกิดโรคคอหอยพอกได้ แต่กอยโตรเจนจะสลายได้รวดเร็วเมื่อโดนความร้อน ดังนั้นจึงควรทานกะหล่ำปลีที่ปรุงสุกแล้ว

2. บรอกโคลี่
ทานบรอกโคลี่มากๆ ทำให้ท้องอึด และในบรอกโคลี่ดิบยังมีฮอร์โมนบางชนิดที่เป็นตัวกระตุ้นความเสี่ยงเป็นโรคไทรอยด์ แต่เจ้าฮอร์โมนที่ว่าจะถูกย่อยสลายไปเมื่อโดนความร้อน

3. ดอกกะหล่ำ
ดอกกะหล่ำมีน้ำตาลชนิดเดียวกันกับกะหล่ำปลี ซึ่งคนที่มีปัญหาในระบบย่อยอาหารอาจย่อยน้ำตาลชนิดนี้ไม่ได้ และอาจนำไปสู่อาการท้องอืด แน่นท้อง ดังนั้นไม่ควรกินดอกกะหล่ำดิบมากๆ

4. ถั่วงอก
ข้อควรระวังของถั่วงอกอยู่ที่ถั่วงอกที่ซื้อมาอาจมีสารปนเปื้อนของสารโซเดียมซัลไฟต์ ซึ่งเป็นสารฟอกขาวที่ผู้ค้ามักนำมากฟอกสีให้ขาวดูน่ารับประทาน และรักษาความสด ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และถั่วงอกดิบมีไฟเตตที่จะดูดซึมแร่ธาตุบางชนิดในร่างกาย การกินถั่วงอกดิบต่อมื้อหรือต่อวันในปริมาณมากๆ เป็นกิโลกรัม ถือว่าเป็นอันตราย ทางที่ดีควรล้างให้สะอาดและปรุงด้วยความร้อนให้สุกก่อนรับประทาน

5. ถั่วฝักยาว
ถั่วฝักยาวดิบจะมีปริมาณไกลโคโปรตีนและเลคตินค่อนข้างสูง ซึ่งสารเหล่านี้มีส่วนชักนำให้คลื่นไส้ อาเจียนได้

6. ถั่ว
ถั่ว ไม่ว่าจะเป็นถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียว หรืองา มีไฟเตต ลักษณะคล้ายฟองน้ำ มันจะไปจับหรือดูดซับธาตุแคลเซียม
เหล็ก สังกะสี และฟอสฟอรัส หากทานมากๆ ควรนำไปแช่น้ำก่อนสัก 3 ชั่วโมง จะทำให้ไฟเตตและแป้งในถั่วคลายตัวลง
พอนำไปปรุงจะทำให้สุกเร็วมากขึ้น ไม่ไปหมักต่อในท้องจนทำให้ท้องอึด

7. หน่อไม้
ในหน่อไม้สด มี Cyanogenic glycoside ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นไซยานาด์ อันมีสารพิษต่อร่างกาย และหากร่างกายได้รับสารตัวนี้ในปริมาณมาก มันจะเข้าไปจับกับฮีโมโกลบิน ทำให้เกิดการขาดออกซิเจน ทุรนทุรายเหมดสติ และอาจจะเสียชีวิตได้

8. มันสำปะหลัง
มันสำปะหลังสด มี Cyanogenic glycoside ด้วยเช่นเดียวกับหน่อไม้ ไม่ควรรับประทานมันสำปะหลังดิบในส่วนหัว ราก ใบ อาจเกิดอาการเวียนศรีษะ ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หรืออุจจาระร่วง หรือมีพิษทำให้ถึงตายได้ โดยจะมีพิษไปขัดขวางการทำงานของระบบหัวใจและทางเดินโลหิต ทำให้ออกซิเจนเข้าสู่เซลล์สมองน้อยลง

9. ผักโขม
ผักโขมดิบๆ มีกรดอ็อกซาลิก (Oxalic) เป็นตัวขัดขวางไม่ให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กและแคลเซียม ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุของโรคนิ่วในไตอีกทางหนึ่งด้วย และมีฤทธิ์ทำให้ลำไส้ระคายเคือง แต่เมื่อโดนความร้อนสารนั้นก็จะสลายไป

10. เห็ด
เห็ดสดมีเนื้อสีขาวทั่วไปมักจะตรวจพบสารอะการิทีน (Agaritine) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง แต่จะสลายไปเมื่อเห็ดเหล่านั้นผ่านการปรุงสุก (เห็ดทั่วไปย่อยยาก ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ)

Cr : ไข่เจียว.com



บทบาทของธาตุอาหารพืช



ดินดี หรือดินที่มีผลิตภาพสูง หมายถึง ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีสมบัติทางเคมี ฟิสิกส์และชีวภาพดี จึงเป็นดินที่สามารถให้ธาตุอาหารต่างๆ แก่พืชอย่างเพียงพอประกอบกับดินมีโครงสร้างดีจึงสามารถอุ้มน้ำได้ดี และมีการถ่ายเทอากาศดี รวมทั้งไม่มีชั้นดินดานหรือสารพิษอันเป็นอุปสรรคในการเจริญเติบโตของพืช
และธาตุอาหารคือธาตุที่จำเป็นต่อพืชและพืชต้องใช้ธาตุนั้นเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ ซึ่งหมายความว่า 1) หากพืชขาดธาตุนั้นอย่างรุนแรงมาก จะไม่สามารถเจริญเติบโตจนครบวัฏจักรชีวิต 2) ถ้าขาดแคลนธาตุนั้นอย่างรุนแรงพอประมาณพืชจะมีอาการผิดปกติ ซึ่งเป็นอาการเฉพาะ และสามารถแก้ไขอาการดังกล่าวได้โดยให้ธาตุนั้นในรูปของปุ๋ย แต่ไม่อาจแก้ไขอาการผิดปกตินี้ด้วยการให้ธาตุอื่น
3) ความต้องการธาตุนั้นๆมีความจำเพาะเจาะจงมาก เนื่องจากแต่ละธาตุมีบทบาทสำคัญโดยตรงในเมแทบอลิซึมของพืช 

ปุ๋ยสั่งตัดคืออะไร



ปุ๋ยสั่งตัด
เป็นเทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่ ช่วยให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยถูกชนิดและถูกปริมาณ ประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยจึงสูงขึ้น คำแนะนำ ปุ๋ยสั่งตัด ได้จากการนำปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของพืชได้แก่ พันธุ์พืช แสงแดด อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน ชุดดิน ปริมาณ N P K ในดินขณะนั้น ฯลฯ มาพิจารณาร่วมกัน โดยใช้แบบจำลองการปลูกพืช และโปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจมาคำนวณโดยคอมพิวเตอร์ เพื่อคาดคะเนคำแนะนำปุ๋ย N P K ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด และมีการทดสอบในภาคสนามเพื่อให้ได้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยที่มีความแม่นยำ และสอดคล้องกับความต้องการของพืช
#คำแนะนำสำหรับวิธีการใช้ปุ๋ยสั่งตัด
ขั้นตอนที่ 1
ตรวจสอบข้อมูลชุดตรวจดิน
ขั้นตอนที่ 2
วิเคราะห์ N P K ในดิน
ขั้นตอนที่ 3
ใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำ ปุ๋ยสั่งตัดหรือโปรแกรม Simrice ได้ที่ www.ssnm.info

อาการขาดธาตุเหล็กของพืช



ธาตุเหล็ก
นอกจากจะเป็นธาตุอาหารที่มีความสำคัญสำหรับมนุษย์อย่างเราๆแล้วยังเป็นธาตุที่มีความสำคัญกับพืชเช่นกัน เพราะมีบทบาทต่อการเจริญเติบโตของพืช และเป็นองค์ประกอบของโปรตีนพืช เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ ธาตุเหล็กจะช่วยในการสังเคราะห์อาหารของพืชให้สมบูรณ์ทำให้พืชมีใบสีเขียวเข้ม
ปกติในดินส่วนใหญ่จะพบธาตุเหล็กในลักษณะของแร่ เช่น ฮีมาไทต์ (Fe2O3) ไพไรต์ (FeS2) จาโรไซต์ เป็นต้นเมื่อแร่เหล็กชนิดต่าง ๆ ผุพังสลายโดยขบวนการต่าง ๆ ก็จะปลดปล่อยเหล็กออกมา ซึ่งจะมีปริมาณที่ต่ำกว่าเหล็กในดินที่อยู่ในรูปของอนินทรีย์ที่ละลายได้ เช่น เ ฟอริก (Fe3+) และเฟอร์รัสไฮดรอกไซด์ [ Fe (OH)2] พืชสามารถนำเหล็กไปใช้ประโยชน์ได้จะอยู่ในรูปเฟอรัส (Fe2+ ) (บุญแสน เตียวนุกูลธรรม,2005)
ถ้าพืชขาดจะแสดงออกทั้งทางใบและผล อาการเริ่มแรกจะสังเกตพบใบอ่อนบริเวณเส้นใบยังคงเขียวอยู่ แต่พื้นใบจะเริ่มเหลืองซีด ส่วนใบแก่มีอาการปกติ ระยะต่อมาจะเหลืองทั่งใบ ขนาดใบจะเล็กกว่าปกติและจะร่วงไปก่อนใบแก่เต็มที่ กิ่งแห้งตาย ส่วนอาการที่เกิดขึ้นกับผลคือ ผลผลิตลดลง ขนาดผลเล็กผิวไม่สวย ผิวเรียบและเกรียม
การแก้ไขคือ ปรับสภาพดินให้ pH อยู่ที่ 5.5-6.5 หากมีมากเกินไปจะตรึงฟอสฟอรัสไว้จนพืชไม่สามารถนำไปช้ประโยชน์ได้ และการใส่ปุ่ยอินทรีย์เมื่อสลายตัวจะปลดปล่อยกรดออกมาละลายธาตุเหล็กให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น

หลักการใช้ปุ๋ยเคมี



หลักการใช้ปุ๋ย
ปุ๋ยเคมีเป็นปุ๋ยที่มีปริมาณธาตุอาหารต่อหน่วยน้ำหนักของปุ๋ยสูง ฉะนั้น ใช้เพียงปริมาณเพียงเล็กน้อยก็พอ ส่วนปัญหาที่ทำให้สภาพดินเสีย นั้นไม่เกี่ยวกับปุ๋ยเคมีแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะเกษตรกรใช้ไม่ถูกวิธี ใช้ไม่ตรงกับความต้องการของดิน ดังนั้นเกษตรกรต้องรู้จักปุ๋ยเสียก่อนว่าจะใช้ปุ๋ยอะไร ตรงกับอัตราหรือสูตรปุ๋ยที่ต้องการใช้หรือไม่ มีความสำคัญต่อพืชอย่างไร 

หลักการใช้ปุ๋ยเคมีให้ได้ผลดี
ปุ๋ยเคมีเมื่อใส่ลงไปในดินจะมีโอกาสสูญเสียไปมากกว่าครึ่งหนึ่งสำหรับธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียส ส่วนฟอสฟอรัสนั้น พืชดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้เพียงไม่เกินร้อยละ 100 ของปริมาณที่ใส่ลงไปในดิน ฟอสฟอรัสที่เหลือทั้งหมดจะทำปฎิกิริยากับดินกลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยากพืชดึงดูดไปใช้ไม่ได้
ดังนั้นการใส่ปุ๋ยลงไปในดินเพื่อให้พืชสามารถดึงดูดไปใช้ได้มากที่สุดและสูญเสียน้อยที่สุด จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ปุ๋ยชนิดน้ำเดียวกัน สูตรเดียวกันใส่ลงไปในดินโดยวิธีแตกต่างกันพืชจะใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้ไม่เท่ากัน เช่น ปุ๋ยที่ใส่แบบหว่านจะให้ผลแตกต่างกัน จากปุ๋ยที่ใส่โรยแบบเป็นแถวหรือเป็นจุดใกล้ต้นพืช ฉะนั้นการใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพจึงควรมีหลักเกณฑ์ในการใส่ปุ๋ยที่ควรจะยึดถือเป็นแนวทางดังนี้

หลัการใช้ปุ๋ย
1.ชนิดของปุ๋ยที่ใช้อย่างถูกต้อง
2.ใส่ปุ๋ยในปริมาณที่พอเหมา
3.ใส่ปุ๋ยให้พืชในขณะที่พืชต้องการ
4.ใส่ปุ๋ยให้พืชพืชตรงจุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์
รอบหน้าแอดมินจะมาบอกเคล็ดลับแบบละเอียดสำหรับหลักเกณฑ์การใส่ปุ๋ยนะคะ
สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่

http://www.dtwp.co.th

อาการขาดธาตุแมกนีเซียมของพืช




อาการขาดแมกนีเซียม (Magnesium :Mg)
แมกนีเซียมเป็นธาตุอาหารที่มีความสำคัญกับพืชในลำดับต้นๆ เพราะองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ ทั้งที่ใบและส่วนอื่นๆ มีบทบาทในการสังเคราะห์แสงและการสร้างอาหารและโปรตีน จัดเป็นธาตุรองเสริมในปุ๋ยต่างๆ นอกจากนี้แมกนีเซียมยังมีผลต่อการเคลื่อนย้ายธาตุฟอสฟอรัส และควบคุมปริมาณแคลเซียมในพืช พืชจะได้รับแมกนีเซียมจากสารละลายดินในรูปไอออน Mg+2 โดยการแพร่ (Diffusion) และการออสโมซิส (Osmosis)
พืชจะแสดงอาการขาดแมกนีเซียม มีหลายสาเหตุนอกจากในดินจะปริมาณแมกนีเซียมในดินต่ำแล้ว ยังมีสาเหตุทางอ้อมอื่นๆได้อีกเช่น ในดินมีความเป็นกรด-ด่าง (pH) ต่ำหรือสูงมากเกินไป เพราะแมกนีเซียมจะอยู่ในรูปที่พืชใช้ประโยชน์ได้ถ้า pH ของดิน เท่ากับ 7-8.5 นอกจากนี้หากดินมีความเค็มหรือมีเกลือพวกแคลเซียมหรือโซเดียมสะสมอยู่มาก
โดยเฉพาะในไม้ผลและไม้ยืนต้น ต้องการแมกนีเซียมมากที่สุดในระยะเริ่มแตกใบอ่อน และต้องการในปริมาณค่อนข้างสูง หากพืชขาดแมกนีเซียมจะสังเกตได้จากใบพืช ที่เหลืองซีดบริเวณเส้นกลางใบอยู่ใกล้กับผล ถ้ามีอาการรุนแรงจะแสดงอาการในใบแก่มากกว่าใบอ่อน จะทำให้ผลผลิตน้อยลง ต้นทรุดโทรมอย่างเห็นได้ชัด
ซึ่งสามารถแก้ไขได้อย่างง่ายๆโดยการใช้ปรับดินให้มีความเป็นกรด-ด่างให้เหมาะสม เพราะในดินมักมีแมกนีเซียมอยู่ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของพืช แต่หากพืชยังแสดงอาการขาดธาตุแมกนีเซียมอยู่ให้พ่นอาหารเสริมหรือปุ๋ยทางใบร่วมด้วย การให้ปุ๋ยทางใบพืชจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีและรวดเร็ว