อาการขาดธาตุแมกนีเซียมของพืช




อาการขาดแมกนีเซียม (Magnesium :Mg)
แมกนีเซียมเป็นธาตุอาหารที่มีความสำคัญกับพืชในลำดับต้นๆ เพราะองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ ทั้งที่ใบและส่วนอื่นๆ มีบทบาทในการสังเคราะห์แสงและการสร้างอาหารและโปรตีน จัดเป็นธาตุรองเสริมในปุ๋ยต่างๆ นอกจากนี้แมกนีเซียมยังมีผลต่อการเคลื่อนย้ายธาตุฟอสฟอรัส และควบคุมปริมาณแคลเซียมในพืช พืชจะได้รับแมกนีเซียมจากสารละลายดินในรูปไอออน Mg+2 โดยการแพร่ (Diffusion) และการออสโมซิส (Osmosis)
พืชจะแสดงอาการขาดแมกนีเซียม มีหลายสาเหตุนอกจากในดินจะปริมาณแมกนีเซียมในดินต่ำแล้ว ยังมีสาเหตุทางอ้อมอื่นๆได้อีกเช่น ในดินมีความเป็นกรด-ด่าง (pH) ต่ำหรือสูงมากเกินไป เพราะแมกนีเซียมจะอยู่ในรูปที่พืชใช้ประโยชน์ได้ถ้า pH ของดิน เท่ากับ 7-8.5 นอกจากนี้หากดินมีความเค็มหรือมีเกลือพวกแคลเซียมหรือโซเดียมสะสมอยู่มาก
โดยเฉพาะในไม้ผลและไม้ยืนต้น ต้องการแมกนีเซียมมากที่สุดในระยะเริ่มแตกใบอ่อน และต้องการในปริมาณค่อนข้างสูง หากพืชขาดแมกนีเซียมจะสังเกตได้จากใบพืช ที่เหลืองซีดบริเวณเส้นกลางใบอยู่ใกล้กับผล ถ้ามีอาการรุนแรงจะแสดงอาการในใบแก่มากกว่าใบอ่อน จะทำให้ผลผลิตน้อยลง ต้นทรุดโทรมอย่างเห็นได้ชัด
ซึ่งสามารถแก้ไขได้อย่างง่ายๆโดยการใช้ปรับดินให้มีความเป็นกรด-ด่างให้เหมาะสม เพราะในดินมักมีแมกนีเซียมอยู่ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของพืช แต่หากพืชยังแสดงอาการขาดธาตุแมกนีเซียมอยู่ให้พ่นอาหารเสริมหรือปุ๋ยทางใบร่วมด้วย การให้ปุ๋ยทางใบพืชจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีและรวดเร็ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น