อาการขาดธาตุสังกะสีของของพืช



สังกะสี

ธาตุสังกะสีมีความสำคัญกับพืชเนื่องจากเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนพืชในกลุ่มออกซินและการเจริญเติบโตของพืช ในกระบวนการสร้างคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นส่วนสำคัญสำหรับพืช พืชสามารถใช้ธาตุสังกะสีในรูปไอออน Zn2+ โดยทั่วไปมักพบสังกะสีในดินประมาณ 120 กรัม/ตัน โดยอยู่ในรูปของซัลไฟด์ (ZnS) และพบในลักษณะเป็นสินแร่มักพบในรูปแร่เฮมิเมอร์ไฟต์ [Zn4(Si2O7) (OH)2 (H2O)] แร่สมิทซอไนต์ (ZnCO3) และแร่ซิงไคต์ (ZnO) สำหรับแร่สังกะสีที่พบมากที่สุดในโลก คือ แร่สฟาเลอไรต์ (ZnS) ถึงแม้พืชต้องการในปริมาณที่น้อยแต่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชหากพืชได้รับไม่เพียงพอพืชจะแสดงอาการขาดสังกะสี โดยเฉพาะพืชไร่กลุ่มข้าวและข้าวโพด และมีความสำคัญอย่างมากในกลุ่มตระกูลส้ม ทั้งมะนาว ส้มโอและมะกรูด
อาการขาดธาตุสังกะสีจะส่งผลต่อฮอร์โมนพืช เช่นทำให้ตายอดลดลง ข้อปล้องไม่ขยาย ถ้าขาดในข้าวโพด ตาอ่อนจะมีสีบรอนซ์เงินที่เปลือกตา ถ้าขาดมากจะแสดงอาการเป็นแถบสีขาวกว้างๆ ที่ใบบน ถ้าในพืชตระกูลส้ม ใบจะเป็นสีเหลืองในขณะที่เส้นใบ (vein) ยังเป็นสีเขียวอยู่
หากพืชแสดงอาการขาดธาตุสังกะสีวิธีแก้ไขที่ให้ผลเร็วที่สุดคือการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบหรืออาหารเสริมที่มีสังกะสีเป็นองค์ประกอบ หากในดินมีการขาดสังกะสีแก้ไขได้โดยการใส่ปุ๋ยสังกะสีในดินเพื่อให้พืชดูดใช้ธาตุสังกะสีได้อย่างเพียงพอ
#สังกะสี #ธาตุอาหาร #ธาตุอาหารพืช #Zn #ซิงค์#ขาดธาตุสังกะสี #อาการขาดธาตุ #โรคใบแก้ว #วิธีแก้อาการขาดธาตุ #สังกะสีที่เป็นประโยชน์ #สังกะสีในดิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น